สังคมออนไลน์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สังคมออนไลน์

ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชนออนไลน์ อาทิ Linux, Apache, FireFox ล้วนแล้วแต่เป็นซอฟต์แวร์ที่นักคอมพิวเตอร์อิสระทั่วโลกช่วยกันพัฒนาขึ้นมาโดยคาดหวังว่าจะเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด (Open source) ที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโปรแกรม ดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรีและมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นคือซอฟต์แวร์รหัสเปิดเหล่านี้ได้รับการตอบสนองจากบรรดาผู้ใช้งานจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องไปซื้อหาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ซึ่งอาจมีราคาสูงมาใช้ นอกจากนี้ธุรกิจบางประเภทก็เคยใช้ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยชุมชนออนไลน์มาพัฒนาธุรกิจของตนเองได้ ดังเช่นในปี ค.ศ.2000 ธุรกิจเหมืองทองคำของแคนาดา ชื่อว่า โกล์คอร์ปอิงค์ ได้ออกประกาศชวนนักธรณีวิทยาทั่วโลกร่วมแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาแหล่งแร่ทองคำที่เหมืองเรดเลกในแคนาดา โดยมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 575,000 ดอลล่าห์สหรัฐ โดยบริษัทได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหมืองทั้งหมดผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยากว่า 1,400 คน จาก 50 ประเทศเข้ามาดาวน์โหลดข้อมูลและแข่งขันกันสร้างซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแหล่งแร่และจำลองภาพเสมือนจริง ผลที่ได้รับคือบริษัทมีผลผลิตทองคำเพิ่มขึ้นเกือบสิบเท่า และถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ของวงการเหมืองแร่
การอัพโหลด (Upload) ที่ทำให้คุณทุกคนกลายเป็นบุคคลสำคัญ ซึ่งโทมัส ฟรีดแมน เคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สมัยก่อนสังคมออนไลน์ส่วนมากคือการดาวน์โหลดหรือบริโภคข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันผู้บริโภคกำลังเปลี่ยนเป็นผู้ผลิตข้อมูลข่าวสารและอัพโหลดสู่ระบบเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จาก นิตยสาร TIME ซึ่งเป็นนิตยสารที่มีการมอบตำแหน่ง “Person of the Year” หรือ ”บุคคลแห่งปี” ให้กับบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงข่าวและวิถีชีวิตของคนหมู่มากสูงที่สุด แต่นิตยสาร TIME ได้มอบตำแหน่งนี้ประจำปี 2006 ให้กับ “คุณ (YOU)” ความหมายคือคุณทุกคนที่เข้าสู่สังคมออนไลน์ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์สังคมออนไลน์ขึ้นมา ผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ ดังตัวอย่างนี้

- เว็บบล็อก (Web Blog) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า บล็อก ซึ่งเปรียบเสมือนหนังสือพิมพ์หรือวารสารส่วนตัวที่ผลิตด้วยตัวคุณเอง โดยคุณสามารถอัพโหลดคอลัมน์หรือจดหมายข่าวเข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้คนทั่วโลกได้เยี่ยมชมและแสดงความคิดเห็น โดยการทำข่าว อาจใช้เพียงเครื่องเล่น MP3 ในการบันทึกเสียงหรือใช้กล้องดิจิตอลที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพก็สามารถทำข่าวสารเผยแพร่เองได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานด้านการทำข่าว อาทิ บล็อกสถานการณ์อิรักที่จัดทำโดยทหารอเมริกันในสมรภูมิ บล็อกที่ติดตามผลงานและงานวิจารณ์ดนตรีของเด็กมัธยม บล็อกของเพื่อนหรือคนใกล้ชิด เป็นต้น ปัจจุบันมีการประมาณการกันว่ามีบล็อกอยู่ 24 ล้านบล็อกและกำลังเพิ่มขึ้นวันละกว่า 70,000 บล็อก และจะเพิ่มเป็นสองเท่าทุกๆ ห้าเดือน

- คลิปวีดิโอออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ Metacafe.com หรือ YouTube.com ที่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้นำคลิปวีดีโอสั้นๆ อัพโหลดเข้ามาเก็บไว้ในเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้ชม ปัจจุบันพบว่ามีเว็บ YouTube มีอัตราการเจริญโตอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ กว่า 100 ล้านครั้งต่อวัน ในแต่ละเดือนมีผู้อัพโหลดวิดีโอขึ้นเว็บกว่า 65,000 เรื่อง สมาชิกเพิ่มขึ้นเดือนละ 20 ล้านคน ซึ่งคลิปวีดิโอที่อัพโหลดเข้ามานั้นมีมากมายหลายประเภท อาทิ การแสดงโชว์ผาดโผน การเล่นดนตรีในแนวใหม่ ภาพเหตุการณ์จริงจากอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ วิดีโองานเทศกาศต่างๆ รวมไปถึงตัวอย่างภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงความคิดเห็นและร่วมโหวตให้คะแนนคลิปยอดนิยม ทำให้คนบางคนที่อยู่ในคลิปวีดิโอกลายเป็นดาราดังภายในชั่วข้ามคืนก็มี

- สารานุกรมเสรีออนไลน์ เช่น วิกิพีเดีย (Wikipedia.org) เป็นสารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไข ผู้ที่เข้ามาอ่านสามารถเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ลงไปได้หรือแก้ไขบทความที่มีเนื้อหาผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนได้ ทำให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ถือได้ว่าสร้างปรับปรุงแก้ไขและตรวจสอบโดยสังคมออนไลน์ และได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข ปัจจุบัน วิกิพีเดียมีทั้งหมด 250 ภาษา รวมทุกภาษามีบทความมากกว่า 6,000,000 บทความ และปัจจุบัน (พ.ค.2550)วิกิพีเดียไทยมีบทความกว่า 22,000 บทความ
การแบ่งทรัพยากรใช้ร่วมกัน เช่น โครงการ SETI@home หรือ Search for Extra-Terrestrial Intelligence at home เป็นโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในการค้นหาสัญญาณจากต่างดาว ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 โดยในระยะแรกเป็นโปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์ จะทำงานเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีการใช้งานอื่น ปัจจุบัน SETI@home ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้ทั่วไป มีจำนวนผู้ร่วมโครงการถึง 5.2 ล้านคน ได้รับการบันทึกใน กินเนสบุ๊ค (Guinness Book of World Records) ว่าเป็นโครงการ distributed computing ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ด้วยจำนวนผู้ใช้ที่ยังทำการอยู่ในปัจจุบัน ประมาณ 3 แสนเครื่อง (5 ธ.ค. 49) โครงการนี้สามารถประมวลผลได้ 257 TeraFLOPS เปรียบเทียบกับ Blue Gene ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของ ไอบีเอ็ม สามารถคำนวณได้ 280 TFLOPS

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)

เครื่องจักรที่สามารถทำงานได้เหมือนคน เช่น หุ่นยนต์ (Robot) ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง มีลักษณะโครงสร้างและรูปร่างแตกต่างกัน หุ่นยนต์ในแต่ละประเภทจะมีหน้าที่การทำงานในด้านต่าง ๆ ตามการควบคุมโดยตรงของมนุษย์ โดยทั่วไปหุ่นยนต์ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานที่มีความยากลำบากเช่น งานสำรวจในพื้นที่บริเวณที่เสี่ยงอันตรายหรืองานสำรวจดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันเทคโนโลยีของหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจใต้ทะเล หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้อาศัยอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ ให้ได้ในชีวิตประจำวัน

การทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน เช่น การมองเห็น การได้ยิน การคิด การใช้เหตุผลและตัดสินใจ เป็นต้น ตัวอย่าง AI ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอันหนึ่ง ได้แก่ ดีพ บลู ทู (Deep Blue II) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่สามารถเอาชนะนายแกรี่ คาสปารอฟ แชมป์โลกหมากรุกเมื่อปี ค.ศ.1997 โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM เครื่องนี้ สามารถประเมินแนวทางที่เป็นไปได้นับพันวิธี ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้แสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้ระบบคอมพิวเตอร์จะมีความเฉลียวฉลาดและสามารถตอบสนองได้เหมือนกับมนุษย์มากขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารหลัก 5 หมู่

ความเที่ยงตรง