ความเที่ยงตรง
ความเที่ยงตรง
คุณลักษณะของเครื่องมือวัดผลที่ดี
1. ความเที่ยงตรง (Validity)
ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง เครื่องมือวัดผลนั้นสามารถวัดคุณลักษณะที่ต้องการ
จะวัดได้หรือไม่ ไม่ใช่วัดสิ่งอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะวัด ประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุดเพราะตัวแปร
ทางการศึกษาที่ต้องวัดนั้นมักมีลักษณะเป็นนามธรรม สังเกตเห็นได้ยาก
(สุธรรม์ จันทร์หอมและพรทิพย์ ไชยโส 2540 : 121)
คุณลักษณะนี้จัดเป็นความสำคัญเป็นยอดของคุณลักษณะอื่น ๆ เป็นที่ปรารถนาของ
เครื่องมือวัดผลทั้งหลาย สมควรที่จะได้ทราบความหมาย ชนิด และวิธีการไว้ เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์
สำหรับตีคุณค่าของแบบทดสอบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง (ชวาล แพรัตกุล 2516 : 124)
ลักษณะของความเที่ยงตรง แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1) เที่ยงตรงตามเนื้อหา ( Content Validity ) หมายความว่า ข้อสอบฉบับนั้นมีคำถาม
สอดคล้องตรงตามเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร สามารถวัดเนื้อหาสาระที่ต้องการวัดได้
ครบถ้วน หรือวัดได้ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
2) เที่ยงตรงตามโครงสร้าง ( Construct Validity) หมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัด
พฤติกรรมและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้และเป็นไปตามหลักการของทฤษฎี
นั้น ๆ อย่างครบถ้วน มิใช่ถามแต่ความจำเป็นส่วนใหญ่
3) ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึงลักษณะของเครื่องมือ
ที่สามารถวัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงของผู้ที่ถูกวัดในขณะนั้น ความเที่ยงตรงตามสภาพนี้เราไม่
สามารถวัดได้จริงๆ โดยใช้แบบทดสอบ แต่เราต้องเอาคะแนนของเด็กไปเปรียบเทียบกับสภาพจริง
ของเด็กดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่
4) ความเที่ยงตรงตามพยากรณ์ ( Predictive Validity) หมายถึงเครื่องมือที่สามารถ
ให้ข้อมูลได้สอดคล้องกับผลการเรียนในภายหน้า วิธีหาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบชนิดนี้ทำได้โดย
นำคะแนนที่สอบได้ไปหาความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้ในอนาคตว่า มีความสอดคล้องตรงกันน่าเชื่อถือได้
หรือไม่เพียงใด
1. ความเที่ยงตรง (Validity)
ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง เครื่องมือวัดผลนั้นสามารถวัดคุณลักษณะที่ต้องการ
จะวัดได้หรือไม่ ไม่ใช่วัดสิ่งอื่นที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะวัด ประเด็นนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุดเพราะตัวแปร
ทางการศึกษาที่ต้องวัดนั้นมักมีลักษณะเป็นนามธรรม สังเกตเห็นได้ยาก
(สุธรรม์ จันทร์หอมและพรทิพย์ ไชยโส 2540 : 121)
คุณลักษณะนี้จัดเป็นความสำคัญเป็นยอดของคุณลักษณะอื่น ๆ เป็นที่ปรารถนาของ
เครื่องมือวัดผลทั้งหลาย สมควรที่จะได้ทราบความหมาย ชนิด และวิธีการไว้ เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์
สำหรับตีคุณค่าของแบบทดสอบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง (ชวาล แพรัตกุล 2516 : 124)
ลักษณะของความเที่ยงตรง แบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ คือ
1) เที่ยงตรงตามเนื้อหา ( Content Validity ) หมายความว่า ข้อสอบฉบับนั้นมีคำถาม
สอดคล้องตรงตามเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร สามารถวัดเนื้อหาสาระที่ต้องการวัดได้
ครบถ้วน หรือวัดได้ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด
2) เที่ยงตรงตามโครงสร้าง ( Construct Validity) หมายถึงเครื่องมือนั้นสามารถวัด
พฤติกรรมและสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ได้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้และเป็นไปตามหลักการของทฤษฎี
นั้น ๆ อย่างครบถ้วน มิใช่ถามแต่ความจำเป็นส่วนใหญ่
3) ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึงลักษณะของเครื่องมือ
ที่สามารถวัดได้ตรงตามสภาพความเป็นจริงของผู้ที่ถูกวัดในขณะนั้น ความเที่ยงตรงตามสภาพนี้เราไม่
สามารถวัดได้จริงๆ โดยใช้แบบทดสอบ แต่เราต้องเอาคะแนนของเด็กไปเปรียบเทียบกับสภาพจริง
ของเด็กดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่
4) ความเที่ยงตรงตามพยากรณ์ ( Predictive Validity) หมายถึงเครื่องมือที่สามารถ
ให้ข้อมูลได้สอดคล้องกับผลการเรียนในภายหน้า วิธีหาความเที่ยงตรงของแบบทดสอบชนิดนี้ทำได้โดย
นำคะแนนที่สอบได้ไปหาความสัมพันธ์กับคะแนนที่ได้ในอนาคตว่า มีความสอดคล้องตรงกันน่าเชื่อถือได้
หรือไม่เพียงใด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น